วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดอกมะลิ



ดอกมะลิ เป็นไม้พุ่มเล็ก เป็นเถาเลื้อยกิ่งอ่อน ดอกสีขาวกลีบซ้อนสวย มีกลิ่นหอม สามารถปลูกในกระถาง มะลิต้องการแดดจัดคนไทยนิยมนำมาทำพวงมาลัยไหว้พระ หรือลอยในน้ำมีกลิ่นหอมสดชื่น  มะลิมีหลายพันธุ์ ได้แก่ มะลิลา, มะลิลาซ้อน, มะลิถอด, มะลิพิกุล, มะลิทะเล, มะลิพวง, มะลิเลื้อย, มะลิวัลย์, พุทธิชาติ, ปันหยี, เครือไส้ไก่, อ้อยแสนสวย และ มะลิเขี้ยวงู เป็นต้น
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักณณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรีที่สูงอายุ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั้วไป

การปลูกดอกมะลิ มี 2 วิธี 
      1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1: 1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
      2.
การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก

       การดูแลรักษา
แสง : ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน : ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ                                          5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ              4-6 ครั้ง
                               
การขยายพันธ์ : การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ                             การปักชำ การตอน

โรค : รากเน่า (Sclerotium root rot)

และ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น