วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พิกุล


          พิกุลทอง เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ผิวเปลือกสีนำตาลเข้ม มีรอยแตกบาง ๆ ตามยาวลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่นกว้างเป็นทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมนสอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กใบเป็นมันสีเขียวขนาดใบกว้างประมาณ3-5 เซนติเมตรยาวประมาณ5-8 เซนติเมตรออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ หรือยอดมีกลีบดอกประมาณ8 กลีบเรียงซ้อนกันกลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อยดอกเล็กสีขาวนวลมีกลิ่นหอมมากผลรูปใข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียวขนาดผลกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
         คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพิกุลทองไว้ประจำบ้านจะทำให้มีอายุยืนเพราะเชื่อว่าต้นพิกุลทองเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงทนทาน และมีอาจุยาวนานดังนั้นจึงนิยมใช้เนื้อไม้นำมาใช้ประโยชน์ในงานพิธีมงคลได้เป็นอย่างดี เช่นด้ามหอกที่ใช้เป็นอาวุธเสาบ้านพวงมาลัยเรือและยังมีความเชื่ออีกว่าต้นพิกุลทองเป็นต้นไม้ที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์เพราะโบราณเชื่อว่าเป็นไม้ที่มี เทพเจ้าสิงสถิตอยู่

         เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพิกุลทองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันจันทร์หรือวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองผู้ปลูกควรเป็นสุภาพสตรี เพราะพิกุลเป็นชื่อที่เหมาะสำหรับสุภาพสตรี

          การดูแลรักษา
แสง : ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้

ดิน : ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นน้อยถึงปานกลาง

ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์ : การตอน การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

โรค : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร

ศัตรู : หนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars)

อาการ : ลำต้นหรือกิ่งเป็นรู เป็นรอย ต่อมาใบแห้งเหี่ยว

การป้องกัน : รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด

การกำจัด : ใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

cr. http://www.maipradabonline.com/maimongkol/pekulthong.htm

ราชาวดี

       

          ราชาวดี เป็นไม้หอมที่นิยมปลูกประดับบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่มีกลิ่นหอมแรง เป็นกิ่งไม้เลื้อยกิ่งออกเป็นอิสระต้องคอยแต่งกิ่งไม่ให้รก ชอบแดด ไม่ชอบน้ำขัง เป็นไม้พุ่มที่ทนแล้งได้ดี ปลูกง่ายชอบแดด ดอกเป็นช่อยยาวสีขาว สามารถปลูกในกระถางได้

          การปลูก หากปลูกลงกระถางควรใช้กระถางขนาดใหญ่แล้วตั้งไว้กลางแจ้ง และใช้ดินร่วนที่มีปุ๋ยคอกหรืออินทรียวัตถุเป็นส่วนผสม และระบายน้ำได้ดี หมั่นตัดแต่งกิ่งเป็นช่วงๆ

        วิธีการขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง 

         การดูแลรักษา : ต้องการแสงแดดจัดตลอดวัน ไม่ต้องการน้ำมาก ปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่เจริญเตบโตได้ดีสุดในดินร่วนปนทราย

cr. http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=luckystar&month=05-2010&date=29&group=20&gblog=165

พุดซ้อน


          ดอกพุดซ้อนไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร ดอกสีขาวใหญ่สวย มีกลิ่นหอม ชอบแดด ไม่ผลัดใบ  เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปใบหอกหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ สีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายพุดจีบ เพียงแต่พุดซ้อนไม่มียางสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ดอกเดี่ยว สีขาว กลิ่นหอมออกตามดอกใบและปลายกิ่ง สีขาวสะอาด มีกลีบดอกซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ออกดอกตลอดปี เวลาบายส่งกลิ่นหอมในช่วงเย็นจนถึงรุ่งเช้า

          วิธีการปลูกและดูแลรักษา : ควรปลูกพุดซ้อนในดินร่วนซุยที่มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ถ้าปลูกในที่แสงรำไรมักให้ดอกน้อย จึงควรปลูกบริเวณกลางแจ้งที่มีแสงแดดจัดจึงจะให้ดอกตลอดปี พุดซ้อนเป็นไม้ที่ปลูกง่าย ทนแดด ทนลม ปัญหาเรื่องโรคและศัตรูพืช มีไม่มากเท่าใด ปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป


         การขยายพันธ์ : ปักชำกิ่ง หรือ ตอนกิ่ง 

cr. http://www.thaitreeflowers.com/view.php?id=20110930113252.8

ต้นแก้ว

          ต้นแก้วเป็นไม้มงคลปลูกต้นแก้วไว้ในบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง แก้วเป็นไม้ยืนต้นขนาด 5-10เมตร เป็นพุ่มสวยเหมาะปลูกประดับสวนเป็นแนวรั้ว ดอกสีขาวสวยมีกลิ่นหอมเป็นช่อสวนงาม สามารถปลุกในกระถองได้
         คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะ แก้ว คือ ความใสสะอาด ความสดใส นอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดกลิ่นหอมอบอวล ทั้งยังสามารถนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้ ถือเป็นสิริมงคลยิ่ง วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์ จึงนำวิธีการปลูกต้นแก้วมาแนะนำ

          เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

          วิธีการปลูก สำหรับการปลูกในแปลง เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2  ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวได้ และสามารถตัดแต่งทรงพุ่มได้ตามความต้องการ
         ส่วนการปลูกในกระถาง เพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก แนะควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไป

          การดูแลรักษา  ต้นแก้วต้องการแสงแดดจัด และควรรดน้ำอย่างน้อย 3 - 5 วัน/ครั้ง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15  อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง

cr. http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-10363-13.html

แก้วมุกดา

         แก้วมุกดา ไม้ประดับดอกสวยมาก มีกลิ่นหอมอีกด้วยจะหมดมากช่วงอากาศเย็นๆออกดอกตลอดทั้งปี แถมเป็นพุ่มไม้เลื้อยสูง 2-3 เมตรสวยให้ร่มเงา ทนแดด ทนน้ำท่วม ชอบน้ำ ชอบแดด ใบใหญ่ร่วงน้อยเก็บง่าย

          การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด : โตช้า ประมาณ 2 – 2.5 ปี จึงจะออกดอก
การตอน : ต้องใช้ฮอร์โมนในระดับที่เข็มข้นมากกว่าพันธุ์ไม้ปกติ ใช้เวลาในการออก      
ราก : 1.5 – 2 เดือน ออกดอกเร็ว แต่ระบบรากสู้ต้นที่เพาะเมล็ดไม่ได้ ใช้น้ำในการเจริญเติบโตมาก

          การดูแลรักษา แก้วมุกดา ชอบแดด ชอบน้ำ ถ้าได้อยู่ใกล้ๆ น้ำจะดีมาก หรือหมั่นขยันรดน้ำวันเว้นวัน ไม่ต้องกลัวรากเน่า นิสัยของแก้วมุกดาชอบน้ำอยู่แล้ว บางคนก็ปลูกใกล้น้ำไปเลย เรื่องการดน้ำต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะว่าแก้วมุกดาอาศัยน้ำในการเจริญเติบโต ช่วงปลูกลงดินใหม่ๆ ต้องหมั่นรดน้ำ เช้าเย็นไปก่อน พอต้นเริ่มตั้งตัวได้แล้วก็เปลี่ยนเป็นรดวันเว้นวันแทน  ถ้าปล่อยให้ขาดหรืออดน้ำ ต้นจะแสดงอาการใบเหี่ยวให้เห็นทันที ช่วงหน้าร้อนต้องช่วยต้นด้วยการรดน้ำวันเว้นวัน หรือถ้าอากาศร้อนจัดๆ ความชุ่มชื้นของดินระเหยเร็ว ต้องขยันหนักกว่าเดิม รดน้ำทุกวัน
การปลูก
          ทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบหนา ทึบขนาดนี้แล้ว ไม่มีอะไรเหมาะสมไปกว่าปลูกให้ร่มเงาอีกแล้ว จะให้ร่มเงากับตัวบ้าน หรือจะปลูกแล้ววางชุดเก้าอี้สนามใต้ต้นเป็นมุมพักผ่อนใต้ร่มไม้  หรือบ้านใครที่อยู่ในเขตเสี่ยงน้ำท่วม เสียไม้หอมไปกับน้ำท่วมมาแล้ว แต่ก็อยากได้ไม้หอมมาปลูกอีก จะเปลี่ยนใจจากจำปี จำปาหรือไม้หอมอื่นๆ ที่เจอน้ำท่วมก็เสร็จทุกราย มา ปลูกแก้วมุกดาแทนจะได้ไม่ชีช้ำอีก 

          ช่วงปลูกใหม่ๆ ควรจะหาไม้ค้ำยันต้นไม้ไว้ก่อน เพราะว่าทรงพุ่มที่แผ่นกว้าง เวลาลมพัดแรงๆ ต้นอาจจะโคนลงมาได้ รากจะกระเทือนทำให้ต้นโตขึ้นมาแบบไม่สมบูรณ์ได้ 

cr. http://community.akanek.com/th/plant-profile/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1

กัลปพฤกษ์

          กัลปพฤกษ์ เป็นไม้มงคลช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิต ลักษณะเป็นผลยืนต้นสูงประมาณ 10 -15 เมตรพุ่มใหญ่ขยายเป็นวงกว้าง ผลัดใบ ดอกสีชมพูระหว่างทิ้งใบออกดอกเป็นช่อทั่วกิ่งก้านเป็นสีชมพูขาวดก สวยมาก นิยมปลูกประดับบ้านประดับสวน ลำต้นจะมีหนามตามลำต้น 
          คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิตเพราะต้นกัลปฟฑกษ์ เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความชัยชนะ และความอิสระแห่งผล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ของเทพเจ้า เพราะต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม้ทิพย์มีคุณวิเศษตามตำนานพระพุทธเจ้าในสมัยโบราณดังนั้นต้นกัลปพฤกษ์จึงเป็นไม้มงคลนาม
          เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไวทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้มีคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประ
กอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

          การปลูก นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนควรปลูกให้ห่างบริเวณบ้านพอสมควรเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้านสาขากว้างใหญ่ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก

         การดูแลรักษา
แสง : ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำน้อยถึงปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง
ดิน : ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย
ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1.2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรคและศัตรู : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคพอสมควร


จำปีจำปา

          จำปา เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-30 เมตรดอกเดี่ยวสีเหลืองส้มมีกลิ่นหอมมากตอนเย็นๆค่ำๆ ออกดอกตลอดทั้งปี ชอบแดด แต่ไม่ชอบน้ำขัง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีดอกสวยงาม และให้ร่มเงาบังแดดอีกด้วย
           จำปี เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10 – 20 เมตร ดอกเดี่ยวสีขาวอมเหลืองนิดๆ กลิ่นหอมมาก เหมาะปลูกประดับบ้านส่งกลิ่นหอมทั่วบ้าน และยังใช้บังแดดให้ร่มเงาอีกด้วย ชอบแดดและน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง

          การปลูก การเตรียมดิน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะทำการยกร่องแล้วปลูกบนร่อง ถ้าหากสภาพพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูก หลังจากนั้นทำการเตรียมดินโดยการขุดไถพรวนดิน ใส่ปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ทำการขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะปลูก 4 x 6 เมตร ขนาดของหลุม 1 x 1 x 1 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกประมาณ 1 บุ้งกี๋และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาให้เข้ากันดี แล้วใส่ลงไปในหลุม ก่อนที่จะนำต้นมาปลูกต่อไป นอกจากนี้อาจมีการนำเอาเศษกระดูกสัตว์จากโรงงานมาใส่ในหลุมปลูกด้วย เพื่อช่วยให้ออกดอกมากขึ้น

          การเก็บดอก เมื่อต้นมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง หรือสูงประมาณ 1-5 เมตร ก็จะเริ่มออกดอกการเก็บดอกจะเก็บเมื่อดอกบาน เวลาในการเก็บไม่พร้อมกัน เนื่องจากการบานของดอกไม่พร้อมกัน ดอกจำปีจะเก็บวันละ 2 รอบ คือ ช่วงเย็น และในตอนเช้ามีด ส่วนจำปาจะเก็บตอนเช้ามีดอย่างเดียว ระยะเวลาจากดอกตูมถึงดอกบานที่เก็บขายได้ ประมาณ 25-30 วัน สิ่งสำคัญในการเก็บดอก คือ ห้ามดึงโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้ยอดหรือขั้วช้ำ จะใช้วิธีการเด็ดแต่ถ้าสูงเกินไปใช้ไม้ทำเป็นง่ามตอนปลาย บิดออกตรงขั้วให้หลุดลงมา

          การให้น้ำ จำปี-จำปา เป็นไม้ที่ชอบน้ำมาก แต่อย่าให้น้ำขัง จึงจำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งมาก ๆ อาจต้องรดวันละ 2 ครั้ง ก็ได้ ถ้าให้น้ำไม่เพียงพอจะให้ดอกน้อยลง

          การให้ปุ๋ย หลังจากจำปี-จำปา ตั้งตัวได้ดีแล้ว (ประมาณ 24 สัปดาห์) ควรมีการใส่ปุ่ยสูตร 15-15-15, 16-16-16, 20-15-15 อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยเจาะใส่เป็นหลุม ตามแนวของทรงพุ่ม การใส่ปุ๋ยควรใส่เดือนละครั้ง หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำตามด้วย นอกจากนี้ยังมีการใส่ปุ๋ย คอกและปูนขาวทุกปีเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

          การตัดแต่งกิ่ง เมื่อต้นมีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะมีลำต้นสูง จะต้องตัดแต่งโดยตัดยอดให้ต่ำลง เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ สะดวกในการเก็บดอก แล้วควรตัดกิ่งแก่ กิ่งแห้งออกด้วยเพื่อให้ทรงต้นโปร่งไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง

          การขยายพันธุ์ จำปี นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง โดยจะทำการตอนในช่วงฤดูฝนเพราะจะออกรากดีที่สุด ในฤดูอื่นไม่นิยมการตอนกิ่งเลย ส่วนการเพาะเมล็ดจะไม่นิยมทำกันเพราะการติดเมล็ดยากกว่าจำปา จำปา นิยมขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เนื่องจากการติดเมล็ดง่ายและมีจำนวนมาก ในปัจจุบันมีการขยายพันธุ์โดยการตอนอีกด้วย เพราะว่าจะได้ต้นที่เจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะเมล็ด แต่ยังไม่นิยมทำกันมากนัก เพราะจำปาจะออกรากยาก เมื่อเราจะตอน จะต้องเตือนกิ่งทิ้งไว้ก่อน จึงจะทำการตอนได้

          โรคแมลงและการป้องกันกำจัด
1. โรคใบแก้ว จะพบในจำปา ส่วนจำปีไม่ค่อยพบ สาเหตุเกิดจากการเตรียมดินไม่ดีอาการเหมือนกับโรคใบแก้วของส้ม คือ ใบจะเป็นสีเหลืองบริเวณยอด ส่วนเส้นใบจะเป็นสีเขียว ขนาดดอกเล็กลง และมีสีเปลี่ยนไป การแก้ไข ทำได้โดยการปรับปรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยคอก และปูนขาว
2. โรคกิ่งแตก สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาการจะพบว่าที่กิ่งและลำต้นเปลือกนอกของกิ่ง จะแตกเต็มไปหมด ทำให้ออกดอกน้อยลง จะพบในต้นที่มีอายุมาก ๆ การแก้ไข ให้โค่นต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่
3. หนอน จะทำลายทั้งต้นและดอก ทำให้ใบเหี่ยวและดอกเสียหายถ้าปล่อยไว้ ต้นอาจตายได้ การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฆ่าแมลง เช่น แลนเนต อโซดริน ริพคอร์ด ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง